หลักการและเหตุผล
หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่การเป็นนักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่” เป็นหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่าง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กับมหาวิทยาลัยพะเยา โดยเป็นหลักสูตรสำหรับบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ต้องการยกระดับทักษะสู่การเป็นนักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ที่สามารถขับเคลื่อนการสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยใช้ความรู้ ข้อมูลและกระบวนการวิจัยเชิงพื้นที่ รวมทั้งการยกระดับทักษะในการทำงานด้านการวิจัยให้มีมาตรฐานสูงขึ้น ตรงตามความต้องการพัฒนาของพื้นที่และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ประกอบกับในปัจจุบันมีการพัฒนาการยกระดับสมรรถนะของกำลังคนในทุกภาคส่วน เพื่อใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ
การพัฒนาพื้นที่ (Area Management) เป็นการทำงานที่ต้องอาศัยกระบวนการสร้างความร่วมมือ (Collaboration) ระหว่างหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐหลายส่วนราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ชุมชน ท้องถิ่น และภาควิชาการ โดยมีกระบวนการสร้างกลไกและการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดเป้าหมายและร่วมขับเคลื่อนไปด้วยกัน จากการดำเนินการจัดหลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพบุคลากรสู่การเป็นนักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่” หรือ ABC Academy ปีที่ 1 จึงได้เน้นพัฒนานักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ ทีมี ทัศนคติ ความรู้ความเข้าใจและทักษะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ 1) การทำ Stakeholder Engagement Collaboration 2) ทักษะการสร้าง Program Initiative และ 3) การทำ Strategic Communication และ Policy Advocacy
จากการดำเนินการจัดหลักสูตร ที่ได้เน้นการพัฒนาทักษะสำคัญ 3 ประการ ดังกล่าวทำให้ผู้เข้ารับการอบรมภายใต้หลักสูตรมีความสามารถในการวางแผน ออกแบบและจัดประสบการณ์การเรียนรู้และบริหารจัดการ โปรแกรมการวิจัยสำคัญ (Initiative Program) ตามความต้องการของพื้นที่ และความสามารถในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการบูรณาการประเด็นสำคัญในพื้นที่ที่มีเป้าหมายร่วมด้วย Program Based Research หรือ Area-based Research
วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนานักจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่ (Area-Based Research Manager) โดยเสริมทักษะด้านการบริหารจัดการวิจัยและการพัฒนาองค์กร รวมถึงความสามารถในการจัดการโปรแกรมวิจัยตามความต้องการของพื้นที่อย่างเป็นรูปธรร
2. พัฒนาความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยพัฒนาพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการบูรณาการประเด็นสำคัญในพื้นที่ ที่มีเป้าหมายร่วมกัน Program based Research หรือ Area Based Research
3. สร้างชุมชนการเรียนรู้ในแบบ Professional Learning Community (PLC) ที่เปิดกว้าง (Open access) ให้ผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง